แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ขานรับ Thailand 4.0 ผลักดันนวัตกรรมแรงงานครบวงจร ชูกลยุทธ์ Manpower Innovator Model มั่นใจปีหน้าโตกว่า 10 เปอร์เซ็นต์แน่นอน
25 มกราคม 2560 โรงแรมเรเนซองส์ : แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย เผยผลประกอบการปี 2559 เป็นไปตามเป้าที่ 3,500 ล้านบาท มั่นใจในเศรษฐกิจ และตลาดแรงงานในประเทศไทยในปี 2560 อนาคตทางด้านตลาดแรงงานยังคงเดินหน้า พร้อมชูกลยุทธ์ Manpower Innovator Model ซึ่งเป็นการปรับแนวทางรับมือกระแสเศรษฐกิจโลก และสนองนโยบายรัฐบาลไทยกับ Thailand 4.0 พร้อมก้าวสู่การวางรากฐานประเทศที่มั่นคง ผลักดันนวัตกรรมด้านแรงงานให้รองรับตลาดแรงงาน ทั้งภาคเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานและความต้องการของแรงงานที่แท้จริง โดยเชื่อมั่นว่า Manpower Innovation Model จะเป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อนแรงงานสู่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม และแมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย จะเติบโตขึ้นอีกกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ในปี 2560 อย่างแน่นอน
มร.ไซมอน แมททิวส์, ผู้จัดการประจำประเทศไทย, แถบตะวันออกกลาง และเวียดนามแมนพาวเวอร์กรุ๊ป กล่าวว่า กระแสการเปลี่ยนแปลงด้านตลาดแรงงานในประเทศไทย ได้รับผลกระทบมาจากหลากหลายปัจจัย ทั้งกระแสการเปลี่ยนแปลงจากตลาดโลก จากพฤติกรรมด้านแรงงานในประเทศ และการเติบโตด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีทำให้ทั้งตลาดแรงงาน ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีการผันผวนยากที่จะคาดเดา หากเพียงแต่ต้องวางแผนรับมือ มองทิศทางในตลาดแรงงานอย่างเป็นระบบ และเตรียมรับมืออย่างทันท่วงที แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ได้วิเคราะห์แนวทางตลาดแรงงานในประเทศ ยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีการผลัดเปลี่ยนภาคอุตสาหกรรมเดิม มาเป็นอุตสาหกรรมด้านใหม่ ด้านแรงงานมีการปรับตัวไปตามสถานการณ์ ซึ่งแรงงานต้องปรับตัวทันต่อความต้องการของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมในประเทศ
“ในปี 2559 ที่ผ่านมา แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ได้เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมด้านแรงงานให้ตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และแรงงานทุกระดับในประเทศไทย ซึ่งถือว่าเราเป็นทั้งที่ปรึกษา ผู้ให้บริการ และวางแผนให้กับภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร ทำให้ปีนี้เรายังคงประสบผลสำเร็จในตลาดแรงงานในประเทศไทยกับผลประกอบการกว่า 3,500 ล้านบาท และในปี 2560 แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ยังคงมั่นใจในตลาดแรงงานในประเทศ และภาพรวมของเศรษฐกิจที่ภาครัฐให้ความสำคัญกับนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งเป็นการต่อยอดผลักดันนวัตกรรมในด้านต่างๆ ภายใต้โครงสร้างการพัฒนาประเทศที่ชัดเจน ดังนั้น หากนโยบายของประเทศชัดเจน ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม อันเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนย่อมมีการเติบโต ซึ่งจะส่งผลทั้งในภาพรวม และภาพเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นใจในทุกภาคส่วน และแมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย มองถึงเป้าการเติบโตที่ 10 – 20 เปอร์เซ็นต์ในปี 2560
ไม่เพียงเท่านั้น แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ชูจุดแข็งด้าน Experis บริการจัดหาแรงงานที่มีทักษะเฉพาะทางจากความแข็งแกร่งของฐานข้อมูล บริการด้าน Business Solutions เทรนด์ที่กำลังมาแรง เป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศไทย เน้นตอบโจทย์ลูกค้าด้วยการบริหารจัดการต้นทุนและประสิทธิภาพซึ่งเหมาะกับธุรกิจแทบทุกประเภททำให้กลุ่มลูกค้า ทั้งภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมเชื่อมั่นใน แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย และแนวโน้มในอนาคตยังมีการเติบโต และขยายฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
นางสาวสุธิดา กาญจนกันติกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด แมนพาวเวอร์กรุ๊ป กล่าวว่า ปี 2560 ถือเป็นมิติใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลง การเปิดรับเทรนด์ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นวงการตลาดแรงงานในประเทศไทย ซึ่งการตั้งรับในปีนี้ เราเดินหน้าพัฒนาด้วยแผนกลยุทธ์Manpower Innovator Model ในการปรับ ปฏิบัติ เดินหน้า พัฒนาอย่างบูรณาการ ให้แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย เป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมแรงงานอย่างครบวงจร ด้วยการส่งมอบบริการที่เป็นเลิศเพื่อความเชื่อมั่นใจทั้งในส่วนของนายจ้างและผู้สมัครงานในประเทศไทย โลกแห่งอนาคต โลกแห่งการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยี นวัตกรรมเข้ามามีส่วนในการบริหารจัดการ Manpower Innovator Model คือการปรับโครงสร้างจากภายในผลักดันสู่การดำเนินงานที่ประสิทธิภาพสู่ภายนอก โดยการนำกลยุทธ์ Smart HR Transformation เข้ามาขับเคลื่อนการทำงาน อาศัยความชำนาญจากต้นน้ำ คือ แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย บริหารจัดการในลักษณะพันธมิตรทางธุรกิจ
เรียนรู้ เป็นที่ปรึกษา ร่วมบริหารจัดการลงลึกตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง ส่วนแผนการรุกตลาดปีนี้ยังคงวางงบประมาณรุกหนักที่กลุ่มออนไลน์ 70 เปอร์เซ็นต์ ออฟไลน์ 30 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
“การทำตลาดปีนี้ เน้นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น คาดจะส่งผลต่อ แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ให้เติบโต ทั้งในส่วนของกาปรับกลยุทธ์ระบบจัดการที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น กระแสนโยบายภาครัฐ (Thailand 4.0) ตลาด Startup และ SME ที่กำลังเติบโต ทิศทางธุรกิจบริการ อุตสาหกรรม การค้า ค้าปลีก ไอที ขนส่ง และอสังหาที่ตลาดยังเติบโต อีกทั้ง 5 สายงานที่มีความต้องการสูงในอาเซียน อาทิ งานขาย ไอที การเงิน วิศกร และSupply Chain & Logistics ทำให้แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย มั่นใจในทิศทางตลาดปีหน้า ที่ยังมีปัจจัยหนุนในหลายด้าน”
นางสาวสุธิดา กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ในภาพรวมตลาดแรงงานและตลาดงานมีความสมดุลกันมากขึ้น แต่อัตราการว่างงานยังคงผกผันมีแนวโน้มสูงขึ้น สะท้อนปัญหาแรงงานไทยทั้งปริมาณและคุณภาพที่ยังผลิตคุณไม่ได้ตามคุณสมบัติที่ตลาดแรงงานต้องการ แม้สายงานบางสายเป็นที่ต้องการแต่ก็ยังขาดแคลนในส่วนของแรงงานที่มีทักษะเฉพาะทาง ผลสำรวจของ บริษัทแมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทยพบว่า
15 อันดับแรกของสายงานที่เป็นที่ต้องการของแรงงาน ได้แก่ (1) การตลาด และประชาสัมพันธ์15.70เปอร์เซ็นต์ (2) งานธุรการ และทรัพยากรบุคคล14.96 เปอร์เซ็นต์ (3) การเงิน และธนาคาร 11เปอร์เซ็นต์ (4) งานวิศวกร 8.16 เปอร์เซ็นต์ (5) งานไอที 7.15 เปอร์เซ็นต์ (6) งานขนส่ง และโลจิสติกส์6.99 เปอร์เซ็นต์ (7) งานขายและงานพัฒนาธุรกิจ6.40เปอร์เซ็นต์ (8) งานระดับผู้บริหาร ร้อยละ 4.32เปอร์เซ็นต์ (9) งานการผลิต 3.54 เปอร์เซ็นต์ (10) งานบริการเฉพาะทาง (งานกฎหมาย ล่าม ที่ปรึกษา นักแปล) 2.89 เปอร์เซ็นต์ (11) งานบริการลูกค้า 2.70เปอร์เซ็นต์ (12) งานบริการด้านการแพทย์ 2.41เปอร์เซ็นต์ (13) งานวิทยาศาสตร์ งานวิจัย 2.12เปอร์เซ็นต์ (14) งานราชการและงานบริการสาธารณะ1.90 เปอร์เซ็นต์ (15) งานพ่อบ้าน แม่บ้าน พนักงานอิสระ 1.30 เปอร์เซ็นต์
15 อันดับแรกของสายงานที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ได้แก่ (1) งานบัญชีและการเงิน 20.74เปอร์เซ็นต์ (2) การตลาด และประชาสัมพันธ์ 12.91เปอร์เซ็นต์ (3) งานธุรการ และทรัพยากรบุคคล10.48 เปอร์เซ็นต์ (4) งานขายและงานพัฒนาธุรกิจ9.42 เปอร์เซ็นต์ (5) งานบริการลูกค้า 7.82 เปอร์เซ็นต์ (6) งานวิศวกร 7.75 เปอร์เซ็นต์ (7) งานการผลิต 6.30เปอร์เซ็นต์ (8) งานไอที 4.71 เปอร์เซ็นต์ (9) งานท่องเที่ยว งานโรงแรม งาน F&B 4.10 เปอร์เซ็นต์ (10) งานบริการด้านการแพทย์ 4.10 เปอร์เซ็นต์ (11) งานขนส่ง และโลจิสติกส์ 3.79 เปอร์เซ็นต์ (12) งานระดับผู้บริหาร 1.89 เปอร์เซ็นต์ (13) งานด้านอสังหาริมทรัพย์ 1.59 เปอร์เซ็นต์ (14) งานบริการเฉพาะทาง (งานกฎหมาย ล่าม ที่ปรึกษา นักแปล)1.44 เปอร์เซ็นต์ (15) งานก่อสร้าง 1.13 เปอร์เซ็นต์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น