"SGF" วางเป้าขึ้นแท่นผู้นำธุรกิจสินเชื่อรายย่อย – เปิดยุทธศาสตร์เดินทางสู่ฝัน

 
                  ขยายโปรดักส์สินเชื่อสู่สินเชื่อรายย่อยเต็มตัว - เปิดสาขา 60 แห่งในปีนี้
                  พร้อมระบบ Agent ช่วยปล่อยสินเชื่อ  เทคโอเวอร์เพื่อโตแบบเร่งด่วน 
ยันทุนหนาส่วนผู้ถือหุ้นกว่า 1,450 ลบ. และ มี D/E แค่ 0.03 เท่า ต่ำสุดในระบบ ไม่ต้องเพิ่มทุน

ดร. วิวัฒน์ วิฑูรย์เธียร” แม่ทัพคนใหม่แห่ง SGF เปิดแผนธุรกิจปี 2560 ประกาศรุกเต็มอัตราศึก  เผย 3 ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนเพื่อการเติบโตอย่างรวดเร็วแต่มั่นคง 1.เพิ่มโปรดักส์ในการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น โดยแตกเป็น 6 ประเภท ซึ่งจะทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ครอบคลุม โดยเฉพาะสินเชื่อประเภทจำนำทะเบียนรยนต์/รถจักรยานยนต์ และ Land title loanเหตุยังมีช่องว่างอีกมากที่จะแทรกตัวเข้าไปได้ 2.วางเป้าหมายที่จะเปิดสาขาให้ได้ 60 แห่งภายในปีนี้ ควบคู่ไปกับการใช้เอเย่นต์เป็นแขนขาช่วยกระจายธุรกิจ 3.ใช้กลยุทธ์ซื้อหรือควบรวมไฟแนนซ์ในท้องถิ่น ให้สามารถเติบโตแบบก้าวกระโดด ระบุมีเป้าหมายที่ไต่อันดับขึ้นไปเป็นผู้นำระดับ TOP5 ให้ได้ในเร็ววัน โดยตั้งเป้ายอดสินเชื่อคงค้างปลายปีนี้ที่ระดับไม่ต่ำกว่า2,000 ล้านบาท ยันส่วนทุนในมือ 1,450ล้านบาท ขณะที่ D/E แค่ 0.03 เท่า ต่ำสุดในระบบ สถาบันการเงินพร้อมซัพพอร์ตเต็มที่ ดังนั้นยังไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน

ดร. วิวัฒน์ วิฑูรย์เธียร  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามเจเนอรัลแฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน) (SGF) เปิดเผยว่าภายหลังจากที่บริษัทได้ปรับโครงสร้างทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบัน SGF มีส่วนทุนสำหรับดำเนินธุรกิจราว 1,45ล้านบาท ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูง เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ ขณะเดียวกันมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนเพียง 0.03 ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในธุรกิจสินเชื่อ ทำให้การรุกธุรกิจในช่วงนี้ยังไม่มีภาระค่าใช้จ่ายทางด้านดอกเบี้ย ในอนาคต บริษัทสามารถที่จะขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินเพื่อขยายธุรกิจได้อีกมาก  ในวันนี้เชื่อว่า SGF ถือเป็นบริษัทที่มีความพร้อม ที่จะเติบโตต่อไปได้อย่างแข็งแกร่ง และไม่มีความจำเป็นที่ต้องเพิ่มทุนแต่อย่างใด

สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจของ SGF จากนี้จะมีการขับเคลื่อนด้วยกลยุทธ์หลัก 3 ส่วนคือ 1.การเพิ่มโปรดักส์เกี่ยวกับการให้สินเชื่อจากเดิมที่มีอยู่ 4 ประเภทคือ สินเชื่อเงินให้กู้ยืม, สินเชื่อแฟคตอริ่ง, สินชื่อบุคคล และการบริหารหนี้  จากนี้จะเพิ่มโปรดักส์ใหม่คือ สินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ ,สินเชื่อทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ สินเชื่อจำนองบ้านและที่ดินรายย่อย ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพเพราะความต้องการยังมีอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้มีพื้นที่สำหรับ SGF จะเข้าร่วมแชร์ตลาดในส่วนนี้ได้ไม่ยาก 

กลยุทธ์ที่ 2.คือ SGF มีนโยบายที่จะเปิดสาขาเพื่อให้บริการกับลูกค้าได้อย่างทั่วถึง โดยปีนี้มีเป้าหมายที่จะเปิดให้ได้ประมาณ 60 สาขา ควบคู่ไปกับขณะเดียวกัน ระบบเอเย่นต์ส่งงาน ส่งลูกค้าให้สาขาเป็นแขนขาในการต่อยอดในการขยายธุรกิจให้ไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้นและเป็นวิธีการทำงานที่ไดประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะทำให้ SGF บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว และ 3.การใช้กลยุทธ์ซื้อและควบรวมไฟแนนซ์ท้องถิ่นคุณภาพสูงทั้งในธุรกิจสินเช่าซื้อรถจักรยานยนต์และสินเชื่อทะเบียน ในมูลค่าที่เหมาะสม เนื่องจากผู้ประกอบการเหล่านี้รู้จักและเข้าถึงลูกหนี้เป็นอย่างดี  แต่ยังขาดในเรื่องของระบบจัดการด้วยระบบไอที และทุนในการแข่งขัน ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์บุกไปเจาะตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการเหล่านี้จำเป็นต้องมีพันธมิตรที่แข็งแกรงมาช่วยสนับสนุน

เขากล่าวต่อว่า SGF ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินธุรกิจไว้มากแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของบุคลากร โดยได้เพิ่มจำนวนบุคลากรที่มีคุณภาพ เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ยาวนานในธุรกิจการเงินจะเห็นได้ว่าในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีทีมงานที่แข็งแกร่งมาเสริมทีมจำนวนมาก เพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจในอนาคต โดยเฉพาะถือเป็นเกียรติของบริษัทที่ท่าน วิจิตร สุพินิจ อดีตผู้ว่าการและประธานกรรมการแห่งประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการธนาคารรับมาเป็นประธานกรรมการให้ นอกจากนั้นมีการลงทุนในระบบไอทีเกี่ยวกับการตามหนี้ให้ทันสมัยรวมทั้งย้ายสำนักงานใหญ่เพื่อรองรับการเติบโต เชื่อว่าจะเป็นส่วนสำคัญผลักดันให้ SGF ก้าวขึ้นเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่มีการทำธุรกิจที่รัดกุม สร้างผลกำไรให้กับผู้ถือหุ้น

ยอดปล่อยสินเชื่อของ SGF ในปัจจุบันมีอยู่ราว 800 ล้านบาท โดยมีอัตรากำไรสุทธิอยู่ในระดับสูง และเอ็นพีแอลต่ำตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา บริษัทตั้งเป้าสินเชื่อคงค้างปลายปีนี้ที่ 2,000 ล้านบาท ซึ่งหมายถึงการแปลงเงินสดเป็นสินเชื่ออย่างเต็มที่บวกกับกู้อีกเพียงเล็กน้อย  

การกลับมาดำเนินธุรกิจของ SGF ในตอนนี้ ถือเป็นการเริ่มต้นบนฐานกำไรที่มีคุณภาพและงบดุลที่คลีน ทีมบริหารหวังว่าจะต้องเติบโตในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง และมีอีกส่วนที่สำคัญมากคือธุรกิจบริหารหนี้ ที่จะมีการรับรู้รายได้และกำไรมากเป็นพิเศษ เนื่องจากการบริหาร NPL ของบริษัทชนะคดีใหญ่คดีหนึ่งในชั้นศาลฎีกาซึ่งได้แจ้งกับตลาดหลักทรัพย์ไปเมื่อปีที่แล้ว โดยคำนวนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยที่ศาลให้แล้วมีมูลค่าหลายร้อยล้านบาท เมื่อวิเคราะห์หลักประกันที่วางในชั้นศาลก็มีมูลค่าสูง ซึ่งจะผลักดันให้ SGF มีฐานรายได้ รวมทั้งมีเงินทุนเข้ามาเพิ่มเติม สำหรับขยายธุรกิจสินเชื่อให้รายย่อยในช่วง 2-3 ปีนับจากนี้” ดร.วิวัฒน์กล่าวในที่สุด

                                   

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ITE ร่วมกับ SCG ฉลองการทำงานครบ 600,000 ชั่วโมง โดยปราศจากอุบัติเหตุ มั่นใจด้วยการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

FER ดึงตัวผู้บริหารหญิงคนเก่ง จาก PSTC ลุยธุรกิจพลังงาน “ชุตินันท์ กิจสำเร็จ” นั่งบอร์ดและเป็นผู้บริหารรุกธุรกิจด้านพลังงานเต็มตัว

หุ้นไอพีโอ ASN สุดฮอต! จองหมดตั้งแต่วันแรก คาดนักลงทุนพลาดหวังรอเก็บเพิ่มในกระดาน